กิโลดิจิตอล

บทความ

ความรู้เกี่ยวกับแท่นชั่ง

30-10-2559 17:26:32น.
 

เครื่องชั่ง(weight scale) แบบไฟฟ้า หรือดิจิตอล (digital scale) ที่นำมาใช้กับงานชั่งทั่วไปมีค่าน้ำหนักตั้งแต่

60 กิโลกรัม ถึง 600 กิโลกรัม สามารถใช้เครื่องชั่งแบบ แท่นชั่งขนาดเล็ก ได้ (หรือที่เรียกว่า bench scale)

ซึ่งแท่นชั่งน้ำหนักจะประกอบไปด้วย

1. แท่นชั่ง :คือส่วนที่ใช้วางวัตถุหรือสิ่งของเพื่อรับน้ำหนัก อาจจะมีโครงสร้างเป็นเหล็กหรือสแตนเลส

2. จอแสดงน้ำหนัก : ส่วนแสดงค่าน้ำหนัก แบบตัวเลขดิจิตอล (ทำให้อ่านค่าน้ำหนักง่ายขึ้น)

 

การทำงานของจอแสดงน้ำหนัก

จอแสดงน้ำหนัก หรือ  Weigh indicator หรือมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น หัวเครื่องชั่ง หัวอ่านน้ำหนัก จอเครื่องชั่ง ทางราชการเรียก ส่วนชั่งน้ำหนัก (Load-measuring device) เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของเครื่องชั่งน้ำหนัก

การทำงานของมันคล้ายกันกับมิเตอร์วัดไฟ ที่ช่างไฟฟ้าใช้กันอยู่โดยทั่วไป  จะมีส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา

เช่น

มีส่วนจ่ายกระแสไฟที่จะต้องจ่ายไปให้ ส่วนรับน้ำหนัก หรือ Load-cell

มีส่วนประมวลผลที่จะแปลงหน่วยการวัดจากแรงดันไฟฟ้าเป็นค่าน้ำหนัก

Note Load-cell เป็นส่วนรับที่น้ำหนักของเครื่องชั่ง แล้วแปลงน้ำหนักมาเป็นแรงดันไฟฟ้าที่สามารถวัดได้

ถ้าเรายกถาดชั่งน้ำหนักออกจากแท่นชั่ง เราจะเห็นแท่งโลหะที่มีสายต่อออกมา อันนั้นแหละคือ Load-cell

มองภาพง่ายๆถ้าต้องการนำมิเตอร์ไฟฟ้ามาแทนจอแสดงน้ำหนัก สิ่งที่ต้องหามาเพิ่มคือแหล่งจ่ายไฟ โดยปรกติจะใช้เป็นไฟ  DC ตั้งแต่ 3 ถึง 15 Volt DC จากนั้นป้อนไฟ DC นี้ให้กับ Load-cell โดยขั้วบวกของแหล่งจ่ายไฟ ต่อเข้ากับสาย +Excitation ของ Load-cell ขั้วลบต่อเข้ากับสาย –Excitation ของ Load-cell จากนั้นตั้งย่านการวัดของมิเตอร์ไปที่  mV DC  (millivolt DC)แล้ววัดแรงดันไฟ โดยขั้วบวกของสายวัดต่อกับสาย + Signal ขั้วลบของสายวัดต่อเข้าที่สาย –Signal ค่าตัวเลขที่มิเตอร์จะแปรผันตามน้ำหนักที่กดลงบน Load-cell คราวนี้จะต้องหาวิธีแปลงหน่วยการวัดจากตัวเลขที่แสดงบนมิเตอร์มาเป็นค่า น้ำหนัก ง่ายที่สุดคือมีเครื่องคิดเลขอีกสักเครื่อง และสิ่งที่จะต้องมีเพิ่มอีกคือ น้ำหนักอ้างอิง ซึ่ง ปกติจะใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานที่มีค่าน้ำหนักที่แน่นอน

มาดูตัวอย่างการแปลงค่ากันเลย เริ่มต้นให้วัดแรงดันไฟฟ้าขณะไม่มีน้ำหนักบน Load-cell วัดได้เท่าไรจดเอาไว้

นำตุ้มน้ำหนักวางลงบน Load-cell จดค่าที่วัดได้ไว้เช่นกัน

วิธีการคำนวณทำดังนี้

ตัวอย่าง

ตุ้มน้ำหนักที่ใช้ หนัก 100 กก. (กิโลกรัม)

 ค่าที่อ่านได้ครั้งแรกขณะไม่มีน้ำหนัก = 0.810 mV

ค่าที่อ่านได้ครั้งที่สองขณะที่มีน้ำหนัก 100 กก. กดอยู่ = 2.059 mV

จะได้ว่าถ้ามีน้ำหนักกดบน Load-cell 100 กก. จะทำให้ค่าที่วัดได้สูงขึ้น  = 2.059-0.810 = 1.249 mV

คราวนี้ถ้าอยากจะรู้ว่าน้ำหนักตัวของเรามีค่าเท่าไหร่ ก็ลองขึ้นไปยืนบน Load-cell แล้วจดค่าเอาไว้ เช่นอ่านค่าได้

1.500 mV เราจะคำนวณน้ำหนักได้จาก  เอาค่าที่อ่านได้นี้ไปลบกับค่าที่อ่านได้ขณะไม่มีน้ำหนัก แล้วไปคูณกับอัตราส่วน

100/1.249

                                                                (1.500 - 0.810)*(100/1.249)

ซึ่งจะได้น้ำหนักเท่ากับ                       55.244 กก.

จะสังเกตเห็นว่าจะมีค่าตัวเลขอยู่สองจำนวนที่เราจะใช้ในการหาค่าน้ำหนักใดๆ ที่กดอยู่บน Load-cellคือค่า 0.801 ซึ่งอ่านขณะไม่มีน้ำหนัก เราจะเรียกค่านี้ว่า Zero และ อัตราส่วนของน้ำหนักมาตรฐานต่อค่าอ่านได้ที่เพิ่มขึ้น 

100/1.249 = 80.064 เราจะเรียกค่านี้ว่า Span หรือ บางทีเรียกว่า Gain ซึ่งถ้าเรามีเครื่องคิดเลขที่สามารถตั้งสูตรการคำนวณได้ หรือใช้โปรแกรม Excel ในการคำนวณ ถ้าเราป้อนสูตรและใส่ค่า Zero และ Span ไว้ในสูตร เราก็

เพียงแต่ป้อนค่าที่อ่านได้เข้าไป  มันก็จะคำนวณออกมาเป็นน้ำหนักให้เราได้

 

คราวนี้เรามาดู Weigh Indicator กันว่ามันจะมีส่วนประกอบอะไรกันบ้าง

ส่วนประกอบแรก  เราเรียกว่าภาค Analog to digital convertor หรือ ADC

ADC นี้เปรียบเหมือน มิเตอร์วัดไฟ จะวัดค่าแรงดันไฟฟ้าออกมาเป็นตัวเลข ตัวเลขที่ได้จะยังไม่มีหน่วยวัด แต่เราจะเรียก

มันว่า Count หรือจำนวนนับ ถ้าเราเคยอ่าน Spec ของ Weigh Indicator เราจะพบคำว่า  

Internal resolution ซึ่งก็คือจำนวน Count สูงสุดตลอดช่วงการวัดของ ADC นี้

เช่น ถ้าใช้ ADC ขนาด 24 บิต   Internal resolution จะเป็น 2 ยกกำลัง 24 เท่ากับ  16777216

แต่ในความเป็นจริง ADC ขนาด 24 บิต เราไม่ได้เอาทั้ง 24 บิตมาใช้งาน ค่าที่ใช้งานได้จริงจะอยู่ที่ 20 บิต ซึ่ง

Internal resolution จะเป็น 2 ยกกำลัง 20 เท่ากับ 1048576

ส่วนประกอบที่สอง  เป็นภาคจ่ายไฟ ซึ่งจะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับส่วนประกอบต่างๆทั้งหมด และจ่ายไฟให้กับ Load-cell ด้วย

ส่วนประกอบที่สาม  เป็น ส่วนประมวลผล ซึ่งจะใช้ Microcontroller เป็นตัวประมวลผล มันจะทำหน้าที่ เหมือนกับเครื่อง

คิดเลข แต่มันจะทำการคำนวณเองโดยไม่ต้องใช้คนมาคอยกดป้อนตัวเลข มันจะเอาค่า  Count ที่ได้จาก ADC มาทำการคำนวณค่าน้ำหนักที่กดบน Load-cell ตลอดเวลา และนำผลที่คำนวณแสดงออกมา...
ส่วนประกอบที่สี่  คือภาค
Display หรือจอแสดงผลตัวเลข

นอกจากนี้ในส่วนประมวลผลจะต้องมี หน่วยความจำที่จะสามารถจดจำ เลขสองจำนวนที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ Zero

และ Span ซึ่งหน่วยความจำนี้จะต้องสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าไม่มีไฟจ่ายให้มันก็ตาม เพราะไม่เช่นนั้น

ค่า Zero และ Span ที่เก็บไว้จะสูญหายไปเมื่อปิดเครื่องและจะต้องทำการ Calibrate น้ำหนักมาตรฐาน

ให้มันทุกครั้งเมื่อมีการปิดเครื่อง
ส่วนที่ห้า  คือส่วนที่จะติดต่อกับผู้ใช้งาน ซึ่งก็คือปุ่มกดต่างๆ ที่อยู่บนแผงหน้าปัด
ของเครื่อง

 

Note บิต ในเลขจำนวนที่เราใช้กันจะเรียกว่าเป็นเลขฐานสิบ คือนับจาก 0 ถึง 9 แล้ว นับต่อไปเป็น 10 โดยเลขหนึ่งตัวหน้า

จะมีค่าเท่ากับสิบ หรือที่เราเรียกว่าหลักสิบ ใบระบบคอมพิวเตอร์ จะใช้เลขฐาน 2 คือจะนับ  0 ,   1  แล้วเป็น  10 หนึ่งตัวแรกมีค่าเท่ากับ 2 ถ้าเป็น 3 หลัก เช่น  110 เลขหนึ่งทางซ้ายสุดมีค่าเท่ากับ  2 ยกกำลัง 2 คือมีค่าเท่ากับ 4 ในแต่ละหลักเราจะเรียกว่า บิต BIT เช่นเลขฐานสอง 4 หลัก เราเรียกว่าตัวเลข 4 บิต ถ้าเป็น 24 บิตก็คือมี 24 หลัก

 

Note Calibrate การ Calibrate ก็คือการที่เราทำการปรับเทียบค่าที่อ่านได้กับตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน ซึ่งจะได้ค่ามาสอง

ค่าตามที่กล่าวมาแล้วคือ Zero กับ Span


การดูแลรักษาเครื่องชั่ง

  1. หากเป็นเครื่องชั่งละเอียด ควรตั้งระดับน้ำให้ตรง
    แต่ถ้าเป็นเครื่องชั่งดิจิตอลหรือแท่นชั่ง ไม่ควรให้เอียงโดยหมุนปรับที่ขา
    หรือระวังไม่ให้แท่นกระแพก
  2. แหล่งจ่ายไฟ อาจเป็นสายไฟหรืออะแด็ปเตอร์ ควรต่อเข้ากับปลั๊กหรือเมนไฟ
    ที่ไม่ได้ใช้พ่วงกับเครื่องจักร เครื่องปั่นไฟ มอเตอร์ เพราะอาจเกิดไฟกระชาก
  3. ไม่ควรวางวัตุถหรือสิ่งของที่มีน้ำหนักเกินกว่าครึ่งหนึ่งของพิกัดชั่ง วางแช่ไว้บนแท่น
    หรือจานชั่งนานๆ เพราะอาจทำให้โหลดเซลล์ล้าได้
  4. ไม่ควรชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักเกินบ่อยๆ
  5. หากเป็นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ ควรใช้แบตเตอรี่ให้หมดก่อนทำการชาร์จครั้งต่อไป
    และการชาร์จควรใช้เวลา6-8ชั่วโมง
  6. ควรมีการเทียบน้ำหนักด้วยตุ้มน้ำหนักมาตรฐานบ้าง

ปัญหาการใช้งานแท่นชั่งแบบตั้งพื้น

เราได้รวบรวมลักษณะของปัญหาที่มักจะพบบ่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำป็นอย่างมากที่ผู้ใช้งานเครื่องชั่งชนิดนี้ควรรู้ไว้
ทั้งเพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและไม่ทำให้ภาคธุรกิจเสียหายจากการขาดเครื่องมือวัด

เครื่องชั่งไม่อ่านน้ำหนัก : เกิดจากจอแสดงน้ำหนักไม่สามารถตรวจรับสัญญาณจากโหลดเซลได้
อาการหน้าจอจะขึ้น 0.00
การตรวจสอบ: ควรเช็คสายสัญญาณก่อนว่าเชื่อมต่อที่จอแสดงน้หนักแล้วหรือเปล่า ตรวจเช็คการขาดของสายโหลดเซล หรือให้แกะขั้วสัญญาณของสายโหลดเซลแล้วเช็คดูว่าสายสัญญาณขาดออกจากจุดบัดกรีหรือไม่...

เครื่องชั่งน้ำหนักไม่ตรง  : อาจเกิดจากสองสาเหตุคือการทำงานของภาควงจรผิดปกติ หรือแท่นชั่งไม่พร้อมใช้งาน
การตรวจสอบ: 
หากสาเหตุเป็นที่ภาคการทำงานของวงจรแนะนำให้ส่งศูนย์ซ่อมครับ แต่หากเกิดจากตัวแท่นเราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆดังนี้
- ตรวจสอบจุดค้ำยันหรือสต็อปเปอร์ของแท่นชั่งว่ามาค้ำโครงแท่นชั่งส่วนบนหรือไม่
- ตรวจสอบใต้แท่นชั่งว่ามีสายสัญญาณหลุดไปยันโครงแท่นส่วนบนหรือไม่ หรือมีเศษวัสดุไปค้ำอยู่ใต้แท่นหรือไม่

เครื่องชั่งน้ำหนักไม่นิ่ง :
ตัวเลขจะขยับตลอดเวลา จนบางครั้งเป็นอาการน้ำหนักไหลขึ้น-ลง อาจเกิดจากได้สองสาเหตุคือการทำงานของภาคแปลงสัญญาณทำงานผิดปกติ หรือสายสัญญาณขาด
การตรวจสอบ: หากสาเหตุเป็นที่การทำงานของภาควงจรแปลงสัญญาณแนะนำให้ส่งศูนย์ซ่อมครับ แต่หากเกิดจากสายสัญญาณ ให้ทำการตรจหาจุดพับของสาย
 หรือสังเกตุรอยโดนกดทับของสายสัญญาณโหลดเซล เมื่อหาเจอให้ทดลองตัดสายบริเวณนั้นและเชื่อมต่อเข้าใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ควรจะมีตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไว้สอบเทียบน้ำหนักหลังจากที่ได้แก้ไขดัดแปลงด้วย และที่สำคัญถ้าเป็นการชั่งซื้อขายแล้วละก็ให้ทำการตรวจรับรองใหม่ครับ...

 

 เครื่องชั่งไม่อ่านน้ำหนัก : อาการหน้าจอขึ้น OL หรือerror massage หน้าจอค้างอยู่ตลอดเวลา 

การตรวจสอบ: ตรวจเช็คสายสัญญาณของโหลดเซลล์เข้าจอแสดงน้ำหนักว่าหลุดหรือขาดหรือไม่ 
ลองตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟ หากใช้แบตเตอรี่ให้เปลี่ยนเป็นใช้อะแด็ปเตอร์แทน ทำการเปิดปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
หากอาการยังเหมือนเดิมแสดงว่าเครื่องมีปัญหาที่วงจรภาครับสัญญาณ ADC ให้แจ้งศูนย์ซ่อม

เครื่องชั่งแสดงตัวเลขไม่ครบ : อาการหน้าแสดงค่าไม่เป็นตัวเลขปกติ ขาดบางหลัก
ทำให้แสดงค่าน้ำหนักผิด

การตรวจสอบ: จอแสดงน้ำหนักจะมี3แบบหลักๆ คือจอแบบ 7-Segment แบบ LCD แบบ LED
เป็นไปได้ว่าหลักบางหลักหรือบางหลอด เสียหรือจุดบัคกรีหลวม (ให้เปลี่ยนหรือย้ำบัคกรีใหม่)
แต่ถ้าเป็นจอแบบ LCD หากย้ำบัคกรีแล้วไม่หายต้องเปลี่ยนทำการเปลี่ยนทั้งจอ

 

การเลือกซื้อเครื่อง

  1. ที่มาหรือแหล่งผลิต:
    ลูกค้าควรศึกษาข้อมูลว่าสินค้านำเข้าหรือผลิตในประเทศ ถ้าสินค้าผลิตในประเทศ
    จะมีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้น ส่วนมากจะเป็นสินค้านำเข้ามากกว่า มีทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี 
    ไต้หวันและจีน ซึ่งในส่วนของนำเข้าจากจีนเองก็มีหลายเกรด 
  2. ฟังก์ชั่นการใช้งาน:
    การใช้งานควรจะเหมาะสมกับการนำไปใช้จริง ลูกค้าควรเลือกให้ได้ตามที่จะใช้ ไม่ควรรีบซื้อเพราะราคาถูกใจแต่ใช้งานแบบอื่นๆไม่ได้นอกจากชั่งอย่างเดียว เช่น การหักน้ำหนัก ชั่งนับจำนวน...
  3. องค์ประกอบและโครงสร้าง:
    ควรคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมที่จะใช้เครื่องชั่งและลักษณะการชั่งทั้งนี้เพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้นและ
    ความแม่นยำ เช็คส่วนประกอบแต่ละส่วนโดยหลักจะมี3ส่วน
    จอแสดงน้ำหนัก  พลาสติกabs หรือสแตนเลส ,กันฝุ่นหรือไม่,แบตเตอรี่แกะเปลี่ยนยากหรือง่าย
    แท่นชั่ง โครงสร้างเหล็กแข็งแรงหรือไม่ จุดเชื่อม ฝาหนาขนาดใหน
    โหลดเซลล์ เกรดดีหรือเกรดต่ำ(ส่วนมากไม่บอก) กันชื้นได้ระดับใหน
  4. บริการ:
    เป็นสิ่งสำคัญเพราะเครื่องชั่งไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ซื้อ-ใช้-พัง-ซื้อใหม่ เราจำเป็นต้อง
    มีการบำรุงรักษาทั้งนี้เพราะมันเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อกำไร-ขาดทุน ผู้ขายต้องมีความรู้ ต้องสามารถ
    ให้คำปรึกษาเราได้เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น มีบริการซ่อม สอบเทียบ อะไหล่รวดเร็ว เป็นต้น
  5. มาตรฐาน:
    ควรมองหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องชั่ง เช่นมาตรฐานความเที่ยงตรง การตรวจรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ หรือได้รับการสอบเทียบตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบ17025 เป็นต้น

ที่มาของเครื่องชั่งและอุปกรณ์โหลดเซลล์แบบกันน้ำกันความชื้น

ที่พบกันบ่อยและมักมีการถามถึงคือเรื่อง เครื่องชั่งกันน้ำหได้หรือเปล่าโหลดเซลล์กันความชื้นดีหรือไม่ ใช้กับห้องเย็นได้หรือเปล่า??? คถามเหล่านี้ตอบได้ด้วยค่าIPxx ที่เราพบยบ่อยคือ IP65,IP67 ทีนี้เราจะมาทำความเข้าใจกัน....
  ตัวเลขหลักแรก หมายถึงหมายถึงการป้องกันของแข็ง มีค่าตั้งแต่ 0-6 ประกอบด้วย

  1. =ไม่สามารถป้องกันใดๆได้เลย
  2. =สามารถป้องกันของแข็งที่มีขนาดไม่เกิน 50 มิลลิเมตรขึ้นไปได้ เช่นมือ
  3. =ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 มิลลิเมตร เช่น อุปกรณ์ต่างๆ
  4. =ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร เช่น อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
  5. =ป้องกันฝุ่นละอองได้บางชนิด
  6. =ป้องกันฝุ่นละอองจากสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนได้
 ตัวเลขหลักที่สอง หมายถึงการป้องกันจากของเหลว มีตั้งแต่ 0-8 ประกอบด้วย

 0.=ไม่สามารถป้องกันใดๆได้
 1.=ป้องกันหยดน้ำจากแนวดิ่ง
 2.=ป้องกันหยดน้ำจากแนวดิ่งในมุมตกกระทบที่ 15องศา
 3.=ป้องกันหยดน้ำจากแนวดิ่งในมุมตกกระทบที่ 60องศา
 4
.=ป้องกันละอองน้ำได้จากทุกทิศทาง
 5
.=ป้องกันจากฉีดน้ำแรงดันต่ำในทุกทิศทาง
 6
.=ป้องกันการฉีดน้ำแรงดันต่ำ และเปียกน้ำได้เพียงครู่
 7
.=ป้องกันการแช่น้ำที่ความลึก 15-100 เซนติเมตร(1เมตร) เป็นเวลา30นาที
 8
.=ป้องกันการแช่น้ำและสามารถใช้งานได้ในน้ำ